แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อกรณีการระบาดของโรคโควิด – 19 ในแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร

23 ธันวาคม 2563 -ข่าวสำหรับเผยแพร่ทันที

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด – 19 ทั้งในจังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่ใกล้เคียง สร้างความ วิตกกังวลต่อเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในหลายระดับ โดยเฉพาะความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งถึงผลกระทบด้านอันเนื่องมาจากถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีประยุทธ จันทร์โอชา กล่าวไว้ว่าการระบาดครั้งล่าสุด มีสาเหตุมาจาก “แรงงานย้ายถิ่นเข้าเมืองผิดกฎหมาย” ที่ “สร้างปัญหาอย่างมากต่อประเทศ” [1] ซึ่งสอดคล้องกับ ความคิดเห็นก่อนหน้านี้ของนายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ที่กล่าวว่า “แหล่งที่มาครั้งนี้น่า จะมาจากแรงงานข้ามชาติ” [2]

แทนที่จะแสวงหาแพะรับบาป อันที่จริงแล้วการระบาดครั้งนี้ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ตลาดกลางกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร ทำให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบที่ไม่ได้สัดส่วนว่าการระบาดมีผลต่อวิถีการดำรงชีวิตและสุขภาพในประเทศไทยเป็นอย่างมากนั้นมาจากการกล่าวหาแรงงานข้ามชาติ อุตสาหกรรมอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทยต่างพึ่งพาแรงงานค่าแรงต่ำมาโดยตลอด ซึ่งแรงงานเหล่านั้นเป็นผู้ย้ายถิ่นจากประเทศเมียนมาร์และกัมพูชาที่การอยู่อาศัยและการทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่การเว้นระยะห่างทางกายภาพและมาตรการด้านสุขอนามัยที่แนะนำเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 นั้นส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้ ในงานวิจัยล่าสุดโดยมูลนิธิรักษ์ไทยหนึ่งในภาคีของเครือข่าย ฯ MMN ซึ่งมีผู้ตอบแบบสัมภาษณ์จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลในจังหวัดสมุทรสาครระบุว่ามีนายจ้างจำนวนน้อยมากที่กำหนดให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าทำงาน หรือใช้ระบบการสับเปลี่ยน ชั่วโมงการทำงาน เพื่อจำกัดจำนวนพนักงานในสถานที่ทำงานแต่ละช่วงเวลา [3]

การระบาดในครั้งนี้เป็นผลจากความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นที่แรงงานข้ามชาติเผชิญเนื่องจากสภาพการทำงานที่มีความไม่ปลอดภัยและไม่มั่นคงของพวกเขา รวมทั้งการถูกทำให้เป็นชายขอบจากสังคมไทยในวงกว้าง เครือข่ายฯ MMN มองว่า มาตรการป้องกันเชื้อโควิด – 19 จะประสบความสำเร็จได้หากชุมชนแรงงานข้ามชาติที่หลากหลายใน ประเทศไทยทั้งหมดได้มีส่วนร่วมในการตอบสนอง และได้รับการปฏิบัติดูแลที่เป็นธรรมโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ การพุ่งเป้าไปที่แรงงานข้ามชาติหรือทำให้พวกเขาเป็นแพะรับบาปในฐานะ “แหล่งต้นตอ” ของการระบาด ไม่ได้ สร้างผลดีใดๆเลย เนื่องจากภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกัน ซึ่งจะเกิด ขึ้นได้เมื่อไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติยังกลัวที่จะถูกกักบริเวณหรือกักตัวในสภาพที่คับแคบและแออัด

นอกจากนี้ ความยากลำบากต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเมื่อมีการระบาดในชุมชนแรงงานข้ามชาตินั้น มีรากฐานมาจาก การขาดความเชื่อมโยงในนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของแรงงานข้ามชาติ แม้ว่านโยบายหลายอย่างของไทย เกี่ยวกับการคุ้มครองทางสังคมจะค่อนข้างก้าวหน้าในการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ แต่บ่อยครั้งที่การดำเนินงาน ถูกขัดขวางด้วยนโยบายคนเข้าเมืองที่เข้มงวดที่ปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติในฐานะแรงงานชั่วคราว ในขณะที่ความ เป็นจริงนั้น แรงงานข้ามชาติจำนวนมากอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี หรือกระทั่งเป็นทศวรรษ และ มองว่าประเทศไทยเป็นบ้านที่ถาวรของพวกเขา

เพื่อรับมือกับการระบาดครั้งนี้ในจังหวัดสมุทรสาคร จะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสาธารณสุข เป็นอันดับแรก และแรงงานข้ามชาติจะต้องมั่นใจได้ว่าการตรวจหาเชื้อ การติดตามเฝ้าระวัง และการรักษาจาก โรคโควิด – 19 จะถูกดำเนินการโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ด้านตรวจคนเข้าเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง หากไม่มีการป้องกัน ระหว่างการบังคับใช้กฏหมายตรวจคนเข้าเมืองและการตอบสนองต่อโควิด – 19 แรงงานข้ามชาติจะยังคงรู้สึก กลัวที่จะติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ ผลลัพธ์ที่ตามมา จะส่งผลร้ายแรงต่อความสามารถในการควบคุม การระบาดของกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายฯ ขอยกย่องคำพูดของรองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครที่ว่า “แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ก็เป็นมนุษย์ สมควรได้รับการปฏิบัติตามมนุษยธรรมโดยไม่คำนึงถึงสถานะการเข้าเมืองของพวกเขา” [4]

ข้อเสนอแนะ

จากความท้าทายที่กล่าวมาข้างต้น เครือข่ายฯ MMN เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตาม ข้อเสนอแนะต่อไปเป็นการเร่งด่วน

  1. สำหรับกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณะและกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่า แรงงานข้ามชาติทั้งหมดที่อยู่ในประเทศไทยทุกคน โดยไม่คำนึงถึงสถานะการเข้าเมือง สามารถเข้าถึง การบริการด้านสาธารณสุขได้ฟรี ที่เกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อและการรักษาโรคโควิด – 19
  2. สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยออกประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณะว่าสถานะการเข้าเมืองของแต่ละ บุคคลจะไม่ถูกตรวจสอบ เมื่อพวกเขาเข้ามาขอรับบริการด้านสาธารณะสุขจากเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าเพื่อตรวจหาเชื้อหรือรักษาโรคโควิด – 19 และข้อมูลของบุคคลนั้นจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างเข้มงวดที่สุด  โดยที่จะไม่มีการบังคับใช้กฎหมายตรวจคนเข้าเมืองต่อบุคคลที่ออกมาตรวจดังกล่าวทั้งสิ้น
  3. สำหรับกระทรวงสาธารณสุข ต้องให้มั่นใจว่าแรงงานข้ามขาติในประเทศไทยทั้งหมดได้รับการจัดหาที่พัก โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในสถานที่กักตัวที่เหมาะสม ในกรณีที่ต้องดำเนินการดังกล่าว
  4. สำหรับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการ จัดการด้านความคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมคนย้ายถิ่นทุกคน โดยไม่คำนึงถึงสถานะการเข้าเมือง ก่อนที่พวกเขาจะตกอยู่ในสภาพอดอยาก ซึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐกิจของ การระบาด
  5. สำหรับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน กำหนดมาตรการพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกในการ ขยายอายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน และมีการผ่อนผันให้คนที่ตกหล่นได้เข้าสู่ระบบ
  6. สำหรับกระทรวงแรงงาน บังคับใช้มาตรการความปลอดภัยสำหรับโรคโควิด – 19 ในสถานที่ทำงาน อย่างเข้มงวด และนายจ้างจะต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยให้ลูกจ้าง เช่น หน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์ล้างมือ ฟรี
  7. สำหรับกระทรวงแรงงาน ต้องให้มั่นใจว่า ลูกจ้างทั้งหมด รวมถึงแรงงานข้ามชาติ ได้รับวันหยุดแบบ ไม่ถูกหักค่าจ้างระหว่างช่วงเวลาที่ต้องกักตัว หรือเข้ารับการรักษา
  8. สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยและประเทศต้นทาง ทำงานร่วมกันเพื่อให้ความช่วยเหลือ ด้านสาธารณสุขและมนุษยธรรมสำหรับคนข้ามแดน ภายใต้ความพยายามในการส่งเสริมช่องทางการ ย้ายถิ่นในรูปแบบปกติ โดยการจัดให้มีมาตรการการกักตัวและการตรวจสุขภาพที่ราคาไม่แพง เข้าถึงได้ ณ จุดผ่านแดน
  9. สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยและประเทศต้นทาง เพิ่มการประสานในวงกว้างในการรณรงค์ ให้ข้อมูลสาธารณะโดยมีเป้าหมายหลักเป็นแรงงานข้ามชาติ เพื่อแจ้งเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับการระบาดของ โรคโควิด – 19 ในภาษาแรงงานข้ามชาติที่เหมาะสม ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ มาตรการด้านการป้องกันเพื่อหยุด การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 การปฏิบัติตัวและการติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในกรณีที่มีอาการป่วย ข้อมูลด้านตรวจคนเข้าเมืองล่าสุด รวมถึงข่าวเกี่ยวกับการปิดพรมแดน การเว้นระยะท่างทางสังคมและการ กักตัวต้องทำอย่างไร เงื่อนไขที่จำเป็นต้องกักตัว และมาตรการบรรเทาทุกข์ในกรณีที่แรงงานข้ามชาติ สูญเสียรายได้อย่างกะทันหัน
  10. สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยและประเทศต้นทาง เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการ ระบาดต่อสาธารณะ และแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการต่อต้านการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อชุมชน แรงงานข้ามชาติ

จากที่กล่าวมาข้างต้น เครือข่ายฯ MMN เรียกร้องรัฐบาลประเทศต้นทางติดต่อประสานงานกับประชาชนของตนเอง อย่างเร่งด่วน และประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อให้ มั่นใจว่าการสนับสนุนอย่างทันท่วงทีแก่ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นเร่งด่วน

นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ขอย้ำถึงข้อเรียกร้องของเราอีกครั้ง ที่มีต่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน ให้ทำงานอย่างเป็นเอกภาพและมีการตอบสนองที่ประสานกัน ในด้านการเคลื่อนย้ายของผู้คนด้วยแนวทาง ที่จะลดโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อโรค ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาศักดิ์ศรีและสิทธิของคนย้ายถิ่น เครือข่าย ฯ ยัง เน้นย้ำอีกครั้งถึง ความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความคุ้มครองทางสังคม ที่สามารถโอนย้ายความคุ้มครองได้ ตามการเคลื่อนย้ายของบุคคล

 

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 เป็นเครือข่ายระดับอนุภูมิภาคของ องค์กรภาคประชาสังคมและสถาบันวิจัย ที่ดำเนินการด้านการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของคนย้ายถิ่น และครอบครัวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายฯ MMN ประกอบด้วย การวิจัยแบบ มีส่วนร่วม การผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย การเสริมสร้างศักยภาพ และการสร้างเครือข่าย โดยสมาชิกของ เครือข่ายฯ MMN ดำเนินงานอยู่ทั้งในประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ และมี การติดต่อประสานงานกับแรงงานข้ามชาติในระดับรากหญ้า ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครือข่ายฯ MMN ได้ที่เว็บไซต์ www.mekongmigration.org

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแถลงการณ์ กรุณาติดต่อ:

คุณเรโกะ ฮาริมะ ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น): reiko@mekongmigration.org

คุณญาณิน วงค์ใหม่ ผู้ประสานงานโครงการเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ): yanin@mekongmigration.org

คุณบราห์ม เพรส ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) at: brahm.press@gmail.com

คุณ Sokchar Mom ผู้อำนวยการองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายต่อเด็กและสตรี ประเทศกัมพูชา (ภาษาแขมร์และภาษาอังกฤษ): sokchar_mom@lscw.org

หรือโทรติดต่อ สำนักงานกองเลขาธิการเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เบอร์ +66 (53) 283259

[1] See “Thai PM blames COVID-19 surge on illegal migration, hints at new curbs”, Channel News Asia, 22 December 2020, accessible at https://www.channelnewsasia.com/news/asia/thailand-covid-19-surge-prayut-chan-o-cha-illegal-immigration-13825052.

[2] See “Migrants likely spread bug, says Anutin”, Bangkok Post, 19 December 2020,  accessible at https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2037763/migrants-likely-spread-bug-says-anutin.

[3] Raks Thai Foundation, “Rapid Gender Analysis Gendered Impact of the COVID-19 Pandemic on Migrants in Thailand”, 23 June 2020, p 13, accessible at http://www.careevaluations.org/evaluation/raks-thai-rapid-gender-analysis-gendered-impact-of-the-covid-19-pandemic-on-migrants-in-thailand/

[4] As quoted on JorSor100 Radio on 21 December 2020.